อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์
อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์

อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์

อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ หรือ การสังหารหมู่ 28 กุมภาพันธ์ ยังเป็นที่รู้จักกันคือ อุบัติการณ์ 228 (หรือ2/28) (จีน: 二二八事件; พินอิน: Èr’èrbā shìjiàn) เป็นการก่อกำเริบต่อต้านรัฐบาลในไต้หวันที่ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยรัฐบาลสาธารณรัฐจีนภายใต้การนำของพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้ทำการสังหารพลเรือนนับพัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 จำนวนชาวไต้หวันที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้และการสังหารหมู่ที่มีการคาดการประมาณว่าอยู่ระหว่าง 5,000 ถึง 28,000 คน[1][2] การสังหารหมู่ครั้งนี้กลายเป็นจุดเริ่มต้นของ"ความน่าสะพรึงสีขาว"(White Terror) ซึ่งมีชาวไต้หวันจำนวนอีกนับหมื่นคนได้หายตัวไป เสียชีวิต หรือไม่ก็ถูกจำคุก อุบัติการณ์นี้เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของไต้หวันและเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสำหรับขบวนการเรียกร้องเอกราชไต้หวัน[3]ในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้ส่งมอบการควบคุมบริหารปกครองเกาะไต้หวันให้แก่สาธารณรัฐจีน(ROC) เป็นอันสิ้นสุดลงในช่วง 50 ปี ของการปกครองอาณานิคมของญี่ปุ่น ประชาชนในท้องถิ่นเริ่มรู้สึกไม่พอใจในสิ่งที่พวกเขาเห็นว่าเจ้าหน้าที่พรรคก๊กมินตั๋งต่างมีพฤติกรรมที่ชอบกดขี่ข่มเหงและคอรัปชั่นอยู่บ่อยๆ รวมทั้งยึดทรัพย์สินส่วนบุคคลมาเป็นของตัวเองตามอำเภอใจ การจัดการทางเศรษฐกิจที่ไม่ดี และกีดกันไม่ให้มีส่วนร่วมทางการเมือง จุดชนวนได้มาถึงเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 ในกรุงไทเป เมื่อตัวแทนของสำนักการผูกขาดของรัฐได้ทำร้ายหญิงม่ายชาวไต้หวันคนหนึ่งที่ต้องสงสัยว่าทำการค้าขายบุหรี่เถื่อน ในขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่คนหนึ่งได้ยิงเข้าไปที่คนหนึ่งที่อยู่ในฝูงชนที่ยืนดูด้วยความโกรธแค้น ซึ่งคนๆ นั้นได้เสียชีวิตลงในวันรุ่งขึ้น[4] ต่อมาทหารได้ยิงใส่ผู้ชุมนุมในวันรุ่งขึ้น ภายหลังจากสถานีวิทยุได้ถูกยึดและข่าวการประท้วงได้ถูกเผยแพร่ออกไปทั่วทั้งเกาะ ในขณะที่การก่อการกำเริบกำลังลุกลาม เฉิน ยี่ ผู้ว่าการที่ได้รับการแต่งตั้งจากพรรคก๊กมินตั๋งได้เรียกการเสริมกำลังทางทหารเข้ามา และการก่อการกำเริบได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรงโดยกองทัพปฏิวัติแห่งชาติจีน หลังจากนั้นเป็นเวลา 38 ปี เกาะได้ถูกประกาศให้อยู่ภายใต้กฎอัยการศึกในช่วงเวลาที่เป็นที่รู้จักกันคือ ความน่าสะพรึงสีขาว[5]ในช่วงความน่าสะพรึงสีขาว พรรคก๊กมินตั๋งได้รับรู้ถึงความไม่เห็นด้วยทางการเมืองและเหตุกาณ์ดังกล่าวได้ถือว่าเป็นเรื่องต้องห้ามเกินกว่าที่จะพูดคุยถกเถียงกันได้ ประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย กลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่พูดคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ในวันครบรอบปีในปี ค.ศ. 1995 เหตุกาณ์ในปัจจุบันได้ออกมาพูดคุยอย่างเปิดเผยและรายละเอียดของเหตุกาณ์ได้กลายเป็นหัวข้อของการสืบสวนของรัฐบาลและนักวิชาการ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ของทุกปีได้กลายเป็นวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการที่ถูกเรียกว่า วันอนุสรณ์รำลึกสันติภาพ ซึ่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐได้รวมตัวกันกับเจ้าหน้าที่คนอื่นๆ เพื่อส่งเสียงระฆังที่รำลึกในความทรงจำของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ อนุสาวรีย์และสวนสาธารณะอนุสรณ์ที่รำลึกถึงผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ 2/28 ถูกสร้างขึ้นในหลายๆ เมืองของไต้หวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสวนสาธารณะในกรุงไทเปที่มีชื่อว่า นิวพาร์คไทเป ได้ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น สวนสาธารณะอนุสรณ์สันติภาพ 228 และพิพิธภัณฑ์รำลึก 228 แห่งชาติ เปิดเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1997 พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เกาสฺยงยังมีการจัดแสดงอย่างถาวรโดยมีการกล่าวอย่างละเอียดถึงเหตุการณ์ 228 ในเกาสฺยง[6][7] ในปี ค.ศ. 2019 คณะกรรมการยุติธรรมในช่วงที่ผ่านมาได้ประกาศนิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดในช่วงหลังที่ตามมา[8]

อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์

สาเหตุ การกดขี่และก่อพฤติกรรมที่เสียหายบ่อยครั้งของก๊กมินตั๋ง
สถานที่ ประเทศไต้หวัน
ผลลัพธ์ รัฐบาลได้ประกาศใช้กฏอัยการศึก กลายเป็นจุดเริ่มต้นของความน่าสะพรึงสีขาว
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1947 (1947-02-28)
เสียชีวิต 5,000–28,000 คน

ใกล้เคียง

อุบัติการณ์ อุบัติการณ์และอุบัติเหตุบนเที่ยวบินการบินไทย อุบัติการณ์มุกเดน อุบัติการณ์สุสานโกเบงเหลง อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ อุบัติการณ์อ่าวตังเกี๋ย อุบัติการณ์คีวโจ อุบัติการณ์ที่กองเหลง อุบัติการณ์ซีเกินทอเลอร์ อุบัติการณ์ยู-2 พ.ศ. 2503

แหล่งที่มา

WikiPedia: อุบัติการณ์ 28 กุมภาพันธ์ http://www.taipeitimes.com/News/feat/archives/2013... http://www.taipeitimes.com/News/front/archives/201... http://www.taipeitimes.com/News/front/archives/201... //doi.org/10.1177%2F0920203X07083320 https://www.nytimes.com/1992/04/03/world/taipei-jo... https://www.nytimes.com/2015/07/15/world/asia/taiw... https://web.archive.org/web/20181027063630/https:/... https://web.archive.org/web/20181213014207/https:/...